เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ยืนยันในแนวทางของตน... โดยความเป็นสิ่งเลวทราม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้
ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย
เพราะคนส่วนมากต่างกล่าวยืนยันในแนวทางของตน
พากันกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นสิ่งเลวทราม
[141] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง
เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น
การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง
เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
คำว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง อธิบายว่า
การบูชาหลักการของตน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลสักการะ เคารพ นับถือ บูชาศาสดาของตนว่า "ศาสดานี้ เป็น
สัพพัญญู" นี้ชื่อว่าการบูชาหลักการของตน บุคคลย่อมสักการะ เคารพ นับถือ
บูชาธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตนว่า "มรรคนี้
เป็นทางนำสัตว์ออกจากทุกข์" นี้ชื่อว่าการบูชาหลักการของตน
คำว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง อธิบายว่า การบูชาหลัก
การของตน เป็นเรื่องแท้จริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า
การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง
คำว่า เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น
อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่า
แนวทางของตน มรรค ก็ชื่อว่าแนวทางของตน พวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญ
คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาแนวทางของตน รวมความว่า เหมือนพวกสมณ-
พราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :381 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง อธิบายว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็
พึงมีอยู่แท้จริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า การว่าร้ายทุกอย่าง
ก็พึงมีอยู่แท้จริง
คำว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน
เท่านั้น อธิบายว่า ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
รวมความว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน
เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง
เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น
การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง
เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
[142] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์
ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี
เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาททั้งหลายได้แล้ว
แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ
คำว่า ไม่ ในคำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม 7 ประการ
ได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์1
คำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ อธิบายว่า ความเป็นผู้มี
ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 25/104-105

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :382 }